สื่อการสอน ( Instructional Media )
คือ ............................................ ?
"เป็นสิ่งเชื่อมโยงจากเนื้อหา ไปสู่รูปธรรมให้นักเรียนเข้าใจขึ้น"
ผศ.ดร.ชวลิต เกตุกระทุ่ม
วัสดุ อุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการถ่ายทอดตลอดจนความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น วิช ปีทาโกรัส ในวิชาคณิตศาสตร์ สื่อรูปภาพในวิชาสังคม
เพื่อใคร ..................................... ?
สื่อทำเพื่อผู้เรียน แต่ในปัจจุบัน การมีการนำสื่อเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สอนเกิดความสะดวกสบายมากขึ้น
ตัวอย่างสื่อการสอน


วิธีการประเมินผลสื่อการสอน
ต้องมีการวัดก่อนจะประเมินยกตัวอย่างเช่น วัดอายุ วัดความสวยงาม แต่จะต้องมีการตั้งเกณฑ์
1.เป็นไปได้
2. เที่ยงตรงตามเนื้อหา
3. มีประสิทธิภาพ (วัดจากกระบวนการ )
4. มีประโยชน์
( ท่านผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการวัดและประเมินผล ผศ.ดร. ชวลิต เกตุกระทุ่ม )
ผู้ประเมินสื่อสามารถเป็นใครได้บ้าง
1. การประเมิน โดยผู้สอน
2. การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (จะต้องมีมากกว่าผู้สอน ) โดยที่จะต้องมีแบบประเมิน
3. ผู้เรียน
คนที่ 1 : ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อ
(เชี่ยวชาญในเรื่องของการแปลงรูปธรรม >>> นามธรรม :: ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
คนที่ 2 : ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัดผล
คนที่ 3 : ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา
คนที่ 4 : ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับด้านนั้นๆ
ถ้าหากว่าสื่อนั้นเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชิญผู้เชี่ยวด้านคอมพิวเตอร์มาด้วย
**ค่าความเชื่อมั่นของสื่อจะต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ย 0.75 ขึ้นไป
การประเมินสื่อการสอนโดยผู้ใช้สื่อ
การใช้ผลคะแนนเพื่อประเมินสื่อ E1E2
( ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการประเมินวิทยานิพนธ์ และ วิทยฐานะ )
E1
คือประเมินกระบวนการ เช่น จุดประสงค์ย่อย ที่เราได้มีการนำสื่อชนิดนั้นๆ ไปประเมิน
ซิกมาร์ X = ผลรวมของคะแนนทุกคน
N = จำนวนของคนที่เข้ามาสอบ
A = คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด
E2
คือประเมินผลลัพธ์
คำถามท้ายบทเรียน
1 มีทฤษฎีหรือแนวคิดอะไรบ้างในการวัดผลประเมินผลสื่อ
ตอบ Random Snake ท่านผศ.ดร.ชวลิต เกตุกระทุ่ม
โดยการแบ่งกลุ่มจากการหาค่าเฉลี่ย โดยแบ่งจากมากไปน้อย
และทำ Pre-Test แบ่งกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 และหลังจากการใช้สื่อ T-Test ออกมา กลุ่ม 2 จะต้องมีค่าเฉลี่ยมากกว่า กลุ่ม 1
2. อธิบายการประเมินสื่อที่เป็นแบบทดสอบ และแบบสังเกต
ตอบ
แบบสังเกตุ อาจจะเพราะว่าเราไม่สามารถหาข้อมูลจากผู้ที่ได้รับการทดสอบได้
แบบทดสอบ ใช้ (Cognitive) พุทธิพิสัย
คำว่า "รู้และจดจำ" , "เข้าใจ" , "นำความรู้" , "วิเคราะห์" , "สังเคราะห์" และ "ประเมินค่า" คือระดับการเรียนรู้ของสติปัญญาผู้เรียนที่ครูอยากให้ถึงเป้าหมายในระดับต่าง ๆ
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เช่น นำหลักของการใช้ภาษาไทยไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
4. การวิเคราะห์ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน เช่น
ยกตัวอย่างเช่น : คน 2 คน มองดูต้นไม้ต้นเดียวกัน
คนแรก วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 4 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ และ ดอก
คนที่สอง วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนดิน และ ส่วนใต้ดิน
3. การนิยาม "ผู้เชี่ยวชาญ" กับ "ผู้ทรงคุณวุฒิ" ในการประเมิน
ตอบ ความหมายเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเรียก ซึ่งก่อนจะทรงคุณวุฒิจะต้องเชี่ยวชาญมาก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น