Lesson 9




:::::::::::::::::::::::::::    Week  1  :::::::::::::::::::::::::::::

ลักษณะของกิจกรรม

1. เรียนรู้การสร้าง Blog ของตนเอง ในการแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
2. รู้ประโยชน์ของ Google และการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ
3. ได้เรียนรู้การสร้าง mind map จาก Application ใน Google web store
4. ได้เรียนรู้วิธีการ Capture Screen ผ่านโปรแกรม Snipping Tool



ทักษะ


1. ได้ฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม
2. ได้ฝึกษะการใช้โปรแกรมต่างๆ eg. Snipping Tool , Google+
3. ได้ฝึกทักษะการคิดออกแบบ การทำ my mipping
4. ได้ฝึกทักษะความตั้งใจ
5.  ได้ฝึกทักษะความเพียรพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการผลิตสิ่งต่างๆ ให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์แบบ


ผลการเรียนรู้

1. ได้รู้จักวิธีการทำ Blog
2.ได้เรียนรู้วิธีการค้นหาข้อมูลใน internet
3. ได้เรียนรู้ประยุกต์ใช้ในการวิธีการเรียนการสอน




Week 2


ลักษณะของกิจกรรม

1. เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีทางการศึกษา 
2. รายงานหน้าชั้นเรียนเรื่องความสำคัญของเทคโนโลยีทางการศึกษา
3. ได้เรียนรู้ Infographic คืออะไร และออกแบบในกระดาษกับเพื่อนๆในกลุ่ม  
4. สร้างข้อสอบเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา



ทักษะ


1. ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม
2. ได้ฝึกษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงาน Infographic
3. ได้ฝึกการสร้าง Blog เพิ่มเติมรายละเอียดในสัปดาห์ที่ 2  
4. ได้ฝึกทักษะการนำเสนอผลงาน
5.  ได้ฝึกทักษะการออกข้อสอบ


ผลการเรียนรู้

1. ได้รู้จักวิธีการทำ Infographic  
2.ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอ 
3. ได้เรียนรู้ประยุกต์ใช้ในการวิธีการเรียนการสอน



:::::::::::::::::::::::::::    Week  3  :::::::::::::::::::::::::::::

ลักษณะของกิจกรรม

1.เรียนรู้การสร้าง website ด้วย Google Site
2. รู้ประโยชน์ของ Google ฟอร์มในการทำข้อสอบออนไลน์
3. ได้เรียนรู้การทำ public ให้คนอื่นเห็น Google Drive ของเราได่
4. ได้เรียนรู้Applicationอื่นๆ ที่สามารถใส่ไว้ใน Task Bar ได้



ทักษะ


1. ได้ฝึกทักษะการจัดวางในหน้า Google Site
2. ได้ฝึกษะการใช้ Google Form
3. ได้ฝึกทักษะการคิดออกแบบ Template
4. ได้ฝึกทักษะความตั้งใจ

5.  ได้ฝึกทักษะความเพียรพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการผลิตสิ่งต่างๆ ให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์แบบ



ผลการเรียนรู้

1. ได้รู้จักวิธีการสร้างข้อสอบ Online   
2.ได้เรียนรู้การนำเสนอ ผลงานต่างๆ ในหน้า Google Site เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้ามาดูบทเรียนย้อน          หลังในบทที่ไม่เข้าใจได้

3. ได้เรียนรู้การวัดผลข้อสอบ ว่าข้อไหนที่ยาก และข้อไหนที่ง่ายเกินไป


:::::::::::::::::::::::::::    Week  4  :::::::::::::::::::::::::::::

ลักษณะของกิจกรรม

1.เรียนรู้การสร้าง Infographic จาก Canva
2. รู้ประโยชน์ของการทำ Infograpic
3. ได้เรียนรู้การทำ E-book
4. ได้เรียนรู้การใช้ Power point มากขึ้น



ทักษะ

1. ได้ฝึกทักษะการจัดวางในหน้า Infographic
2. ได้ฝึกษะการใช้ Powerpoint
3. ได้ฝึกทักษะการคิดออกแบบ Template
4. ได้ฝึกทักษะความตั้งใจ
5.  ได้ฝึกทักษะความเพียรพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการผลิตสิ่งต่างๆ ให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์แบบ



ผลการเรียนรู้

1. ได้รู้จักวิธีการสร้าง Infographic 
2. การทำ E-book จากโปรแกรม Power-point 
3. ได้เรียนรู้ประโยชน์ที่สามารถ ทำการ์ด การนำเสนอผลงานจาก CANVAS ได้ 



:::::::::::::::::::::::::::    Week 5 ::::::::::::::::::::::::::::

ลักษณะของกิจกรรม

1.  เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21
2.  ออกแบบแผนผังเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมใช้ในการเรียนการสอน
3.  ทักษะอาชีพที่สำคัญในยุค ไทยแลนด์ 4.0
4.  นำเสนอผลงาน

ทักษะ

1. ได้นำทักษะการใช้ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้มาใช้กับการจัดการเรียนการสอน
2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะที่จำเป็น
3. ได้เรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีม
4. ได้เรียนรู้ทักษะการออกแบบ
5.  ได้เรียนรู้ทักษะการนำเสนอผลงาน


ผลการเรียนรู้

1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับไทยแลน์ 4.0
2.  ได้เรียนรู้วิธีการประยุกต์การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน
3.  ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆจากเพื่อนๆในกลุ่ม หลายกลุ่มสาระวิชา



:::::::::::::::::::::::::::    Week 6 ::::::::::::::::::::::::::

ลักษณะของกิจกรรม

1.  เรียนรู้การประเมินสื่อ
2.  เรียนรู้เกี่ยวกับผู้ที่สามารถประเมินสื่อได้
3.  เรียนรู้วิธีการคำนวณ Random Snake
4.  เรียนรู้ลักษณะต่่างๆของสื่อการสอน

ทักษะ

1. ได้ทักษะการวิเคราะห์สื่อ
2. ได้ฝึกทักษะการคิดคำนวณ
3. ได้ทักษะการตั้งคำถาม
4. ได้ฝึกทักษะการคิดสื่อที่สอดคล้องกับไทยแลนด์ 4.0
5.  ได้ฝึกทักษะการประเมินสื่อ 

ผลการเรียนรู้

1. เรียนรู้เกี่ยวกับสื่อการสอน
2. เรียนรู้การปรับสื่อการสอนให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
3. เรียนรู้การประเมินสื่อว่าสื่อไหนเหมาะสมกับนักเรียน



:::::::::::::::::::::::::::    Week 7 ::::::::::::::::::::::::::

ลักษณะของกิจกรรม

1.  ความสำคัญของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
2.  เรียนรู้เกี่ยวกับ 10 อันดับเทคโนลียีจาก Gartner
3.  เรียนรู้ความหมายของ PL ( Personal Learning )
4.  การประยุกต์ใช้ Applications ต่างๆในการจัดการเรียนการสอน

ทักษะ

1.  ฝึกทักษะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.  ฝึกทักษะ การออกแบบความคิด
3.  ฝึกทักษะ  ค้นหา คิด วิเคราะห์  
4.  ฝึกทักษะการหา  Applications ใหม่ๆ
5.  ฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพราะบางบทความจากต่างประเทศ 

ผลการเรียนรู้

1. ได้เรียนรู้ Applications ใหม่ๆ
2.  ได้เรียนรู้การประยุกต์สื่อต่างๆที่มากขึ้น
3. ได้รู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ จากผลการวิจัยของ Garter



Lesson 8


การนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 
ไปดูรายชื่อเพื่อนๆที่จะนำเสนองานในวันนี้กันเรย

阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛阿狸 狐狸 萌宠 动物 红毛


1. นายปรัชญา  แสงทอง
สื่อ Google Site วิชาภาษาจีน สอนระดับประถมศึกษาตอนต้น


2.นางสาวนฤวรรณ สำเภา
สื่อ Google Site วิชาภาษาอังกฤษ สอนระดับ ปวช.



3. นางสาวชลดา สันเทียะหมื่นไว
สื่อ E-Book สอนระดับปฐมวัย



4.นางสาวจิตจุฑา โทแหล่ง
สื่อโครงสร้างโมเลกุล วิชาเคมี สอนระดับมัธยมศึกษาปลาย


5.นายภราดร เซ่งฉั่น
สื่อระบงานส่งกำลังรถยนต์ วิชาช่างยนต์ สอนระดับ ปวช.


6. นางสาวบุษราคัม  กำพุฒกลาง 
สื่อ E-Book เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม



7.นางสาวพัชราวรรณ  สิงห์สวัสดิ์ 
E-Book เรื่องคณิตศาสตร์





8.นางสาวเพชรรัตน์  มงคลพัฒนจินดา
google site เรื่อง วิจัยเบื้องต้น




9. นางสาวยุภาการ  เฉลิมพล
 E-book ภาษาอังกฤษ


มาดูภาพรวมการนำเสนอผลงานกันเรยยยย !! 


狗 可爱 卖萌 动物 流汗 翻书狗 可爱 卖萌 动物 流汗 翻书狗 可爱 卖萌 动物 流汗 翻书狗 可爱 卖萌 动物 流汗 翻书



ในส่วนการนำเสนอของข้าพเจ้านั้นเป็นการประยุกต์ของใช้ในห้องมานำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง

    หลักร้อย     หลักสิบ   หลักร้อย 
Hundredes       Tens         Ones 



 

动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳动物 兔子 盯 看着你 呵呵 你继续 嘲讽 再说一遍 面无表情 无法反驳








Lesson 7

Application (แอพพลิเคชั่น) 


หรือที่ทุกคนเรียกกันสั้นๆ ว่า App (แอพ) มันคือ
โปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ที่ออกแบบมาสำหรับ Mobile (โมบาย) Teblet (แท็บเล็ต) หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่เรารู้จักกัน ซึ่งในแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมามากมายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรีและจ่ายเงิน ทั้งในด้านการศึกษา ด้านกรสื่อสารหรือแม้แต่ด้านความบันเทิงต่างๆ

จากการอ่านบทความ Top 10 Strategic Technology Trends for 2017 




อภิปรายเกี่ยวกับการการใช้
นวัตกรรมการเรียนรู้ในอนาคต จากการสร้าง Infographic  >> Web CANVA





Personal Learning
การประยุกต์ใช้ Applications ต่างๆในการจัดการเรียนการสอน
โดยทำออกมาเป็นแผ่นภาพความคิด ตามรูปด้านล่างเรยจร้าา



อ้างอิงที่มาจาก 

http://www.gartner.com/smarterwithgartner/gartners-top-10-technology-trends-2017/
http://wiwatmee.blogspot.com/2013/09/21.html




Lesson 6


สื่อการสอน ( Instructional Media )


คือ ............................................ ? 


"เป็นสิ่งเชื่อมโยงจากเนื้อหา ไปสู่รูปธรรมให้นักเรียนเข้าใจขึ้น"
                                                                                                                                                      ผศ.ดร.ชวลิต เกตุกระทุ่ม 


วัสดุ อุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการถ่ายทอดตลอดจนความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน  ยกตัวอย่างเช่น วิช ปีทาโกรัส ในวิชาคณิตศาสตร์  สื่อรูปภาพในวิชาสังคม



เพื่อใคร ..................................... ? 

สื่อทำเพื่อผู้เรียน แต่ในปัจจุบัน การมีการนำสื่อเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สอนเกิดความสะดวกสบายมากขึ้น




ตัวอย่างสื่อการสอน 




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวอย่างสื่อการสอน ภาษาอังกฤษ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวอย่างสื่อการสอน ภาษาอังกฤษ




วิธีการประเมินผลสื่อการสอน 
ต้องมีการวัดก่อนจะประเมินยกตัวอย่างเช่น  วัดอายุ วัดความสวยงาม แต่จะต้องมีการตั้งเกณฑ์

1.เป็นไปได้
2. เที่ยงตรงตามเนื้อหา
3. มีประสิทธิภาพ (วัดจากกระบวนการ )
4. มีประโยชน์











( ท่านผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการวัดและประเมินผล ผศ.ดร. ชวลิต เกตุกระทุ่ม  )



ผู้ประเมินสื่อสามารถเป็นใครได้บ้าง 

1.  การประเมิน โดยผู้สอน
2.  การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ  (จะต้องมีมากกว่าผู้สอน ) โดยที่จะต้องมีแบบประเมิน
3.  ผู้เรียน

คนที่  1 :  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อ

  (เชี่ยวชาญในเรื่องของการแปลงรูปธรรม >>> นามธรรม :: ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

คนที่  2   :   ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัดผล

คนที่  3   :   ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา

คนที่  4 :   ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับด้านนั้นๆ
ถ้าหากว่าสื่อนั้นเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชิญผู้เชี่ยวด้านคอมพิวเตอร์มาด้วย


**ค่าความเชื่อมั่นของสื่อจะต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ย 0.75 ขึ้นไป 



การประเมินสื่อการสอนโดยผู้ใช้สื่อ 




การใช้ผลคะแนนเพื่อประเมินสื่อ E1E2 
( ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการประเมินวิทยานิพนธ์ และ วิทยฐานะ )



E1  

คือประเมินกระบวนการ เช่น จุดประสงค์ย่อย ที่เราได้มีการนำสื่อชนิดนั้นๆ ไปประเมิน
     

ซิกมาร์ X  =  ผลรวมของคะแนนทุกคน

N =  จำนวนของคนที่เข้ามาสอบ

A  = คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด



E2
คือประเมินผลลัพธ์ 








คำถามท้ายบทเรียน 

1 มีทฤษฎีหรือแนวคิดอะไรบ้างในการวัดผลประเมินผลสื่อ

ตอบ   Random Snake    ท่านผศ.ดร.ชวลิต เกตุกระทุ่ม 

โดยการแบ่งกลุ่มจากการหาค่าเฉลี่ย โดยแบ่งจากมากไปน้อย
 และทำ Pre-Test แบ่งกลุ่ม 1 และ กลุ่ม  2 และหลังจากการใช้สื่อ T-Test ออกมา  กลุ่ม 2 จะต้องมีค่าเฉลี่ยมากกว่า กลุ่ม 1  








2. อธิบายการประเมินสื่อที่เป็นแบบทดสอบ และแบบสังเกต


ตอบ
แบบสังเกตุ อาจจะเพราะว่าเราไม่สามารถหาข้อมูลจากผู้ที่ได้รับการทดสอบได้
แบบทดสอบ ใช้ (Cognitive) พุทธิพิสัย

คำว่า "รู้และจดจำ" , "เข้าใจ" , "นำความรู้" , "วิเคราะห์" , "สังเคราะห์" และ "ประเมินค่า" คือระดับการเรียนรู้ของสติปัญญาผู้เรียนที่ครูอยากให้ถึงเป้าหมายในระดับต่าง ๆ

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่


1. ความรู้ความจำ  เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ


2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ


3. การนำความรู้ไปใช้  เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เช่น นำหลักของการใช้ภาษาไทยไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม

4. การวิเคราะห์  เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน เช่น

ยกตัวอย่างเช่น :  คน 2 คน มองดูต้นไม้ต้นเดียวกัน

คนแรก วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 4 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ และ ดอก

คนที่สอง วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนดิน และ ส่วนใต้ดิน



3. การนิยาม "ผู้เชี่ยวชาญ" กับ "ผู้ทรงคุณวุฒิ" ในการประเมิน
ตอบ ความหมายเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเรียก ซึ่งก่อนจะทรงคุณวุฒิจะต้องเชี่ยวชาญมาก่อน 













Lesson 5



ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

   ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
         ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
        หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 

มาดูทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

คิดสร้างสรรค์
  • ใส่ใจนวัตกรรม
  • มีวิจารณญาณ
  • แก้ปัญหาเป็น
  • สื่อสารดี
  • เต็มใจร่วมมือ

บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 

การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง   และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ครูที่รักศิษย์  เอาใจใส่ศิษย์  แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม  ๆ  จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)
ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวข้าสาระวิชา
ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
 หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
• ความรู้ด้านสารสนเทศ
• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
• ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
• ความยืดหยุ่นและปรับตัว
• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ accountability)
• ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)
นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
• หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21
• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21
จากบทความดังกล่าวทำให้เรียนรู้ว่าการเรียนการสอนในชั้นเรียนศตวรรษที่ 21 ต้องมีการรับเปลี่ยนอีกมาก แต่ก็เป็นงานที่ท้าทายนะคะ

ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่


ประเทศไทย 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)
 (ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)


ผลงานการทำ การก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 ด้านการศึกษา
ขอนำเสนอในรูปแบบ VDO นะคร้าบ! 














อ้างอิง 

http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223
https://www.gotoknow.org/posts/612666